หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ไฮบริดอินเวอร์เตอร์


ไฮบริดอินเวอร์เตอร์

HYBRID INVERTER 
              
    ไฮบริดอินเวอร์เตอร์เป็นการออกแบบที่ใช้ในระบบโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ และอินเวอร์เตอร์แปลงไฟ มาอยู่ในตัวเดียวกัน ทำให้สะดวกและประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง แม้เป็นระบบที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน และยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ถือว่าเป็นระบบที่มีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพสูงอีกระบบหนึ่งก็ว่าได้

            ระบบไฮบริด หมายรวมถึงการนำเอาแหล่งพลังงานอย่างอื่น มาร่วมเป็นแหล่งจ่ายพลังงานทดแทน ด้วย เช่น พลังงานลม พลังงานชีวมวล และ เครื่องยนต์ปั่นไฟ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในกรณีที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้

            เป็นระบบที่นำเอา ระบบ OFF GRID และ ON GRID มารวมกัน จะมีระบบแบตเตอรี่ มาสำรองพลังงาน ไว้ใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และสำหรับกรณีที่เมื่อมีแสงอาทิตย์แล้วผลิตกระแสไฟฟ้าได้หากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้มีมากกว่าที่นำมาใช้งาน ระบบก็นำกระแสไฟฟ้านั้นชาร์จเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำมาใช้งานได้ต่อไป พอถึงเวลากลางคืนที่ผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ไม่ได้ ระบบก็จะนำเอากระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้ก่อน หากยังไม่เพียงพอ ระบบก็จะไปดึงไฟฟ้ามาจากระบบจำหน่ายมาชดเชยอีก

                โซล่าเซลล์อินเวอร์เตอร์ไฮบริดจะประกอบด้วย                               

HYBRID INVERTER
1.      แผงโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่ เป็นตัวรับพลังงานแสงอาทิตย์ และ แปลงไปเป็นพลังงานไฟฟ้า
2.      แบตเตอรี่่ในระบบโซล่าเซลล์ไฮบริด จะทำหน้าที่เก็บพลังงานประจุไฟฟ้าเอาไว้
3.      โซล่าชาร์จเจอร์/ชาร์จเจอร์คอนโทรลเลอร์ จะเป็นตัวควบคุมการประจุแบตเตอรี่

         หลักการทำงานคือเมื่อแผงโซล่าเซลล์ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ก็แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วส่งต่อมายัง ไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์ ซึ่งไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์ก็แปลงแป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ซึ่งก็จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าฯ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และอีกขั้วหนึ่งก็ต่อไฟฟ้าไปใช้งานต่างๆ

         ในเวลากลางวันเมื่อผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ ระบบก็จะนำไฟฟ้าที่ผลิตได้มาจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อ แต่หากกระแสไฟฟ้าที่เราผลิตได้ไม่เพียงพอ ก็จะไปดึงไฟจากแบตเตอรี่ หรือการไฟฟ้าฯมาใช้งานได้ โดยอัตโนมัติ หรือหากเราผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์มามากกว่าที่เราใช้งานระบบก็นำกระแสไฟฟ้านี้ไปชาร์จแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟฟ้าใช้งานต่อไป

          ในเวลากลางคืนที่เราไม่สามารถผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้ ที่ตัวไฮบริดส์ อินเวอร์เตอร์ สามารถตั้งค่าได้ว่าจะเอาไฟจากแบตเตอรี่มาใช้งานก่อนจนหมดแล้วค่อยนำไฟฟ้าจากระบบของการไฟฟ้ามาใช้งาน ซึ่งทำให้เราประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ และหรือบางท่านอาจกลัวว่าแบตเตอรี่จะเสื่อมเร็วเกินไป ก็สามารถตั้งค่าให้ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเป็นอันดับแรกก่อน หากระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าขัดข้องจึงไปนำไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาใช้งาน ก็ได้

HYBRID INVERTER 

ข้อดี HYBRID INVERTER 

              คือช่วยลดการสูญเสียเนื่องจากกระแสไฟจากแผงโซล่า จะป้อนเข้ามาที่โหลดใช้งานได้เลย ก่อนที่จะเข้าไปชาร์ทในแบตเตอรี่ เมื่อเครื่องใช่ไฟฟ้าใช้งานน้อยลง จนกระแสไฟจากแผงโซล่าเหลือก็จะค่อยชาร์ทเข้าเก็บในแบตเตอรี่ วิธีนี้ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ อีกด้วย ซึ่งถ้าเป็น OFF GRID INVERTER จะต้องเข้ามาที่แบตเตอรี่ก่อน แล้วค่อย แปลงไฟด้วยอินเวอร์เตอร์ ให้เป้นกระแสสลับ

ข้อเสีย HYBRID INVERTER 

             คือ  ยังไม่มีรุ่นไหนได้รับการรับรองมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด และ Hybrid Inverter ยังมีแบบให้เลือกน้อยมาก ทั้งระบบ Hybrid ไม่สามารถแยกติดตั้งมิเตอร์ซื้อกับจำหน่ายได้ ผลที่ได้คือคุณขายไฟไม่ได้ ทำได้แค่ลดค่าไฟฟ้าจากการซื้อเดิม



วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หลังคาบ้านโซล่าเซลล์



ดวงอาทิตย์ที่เรารู้จักกันนั้นให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เพราะหากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์ เราก็จะไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ได้ แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ประโยชน์จากดวงอาทิตย์มีอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือแสงอาทิตย์ที่เราสามารถนำมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยการนำเทคโนโลยีแผงโซล่าเซลล์มาประยุกต์ใช้ ในที่นี้ขอนำเสนอการประยุกต์ใช้แผงโซล่าเซลล์กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่กัน นั้นก็คือ... หลังคาบ้านโซล่าเซลล์

หลังคาบ้านโซล่าเซลล์
แผงโซล่าเซลล์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า(กระแสตรงDC) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า มีการบำรุงรักษาน้อยมาก สามารถใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นอยู่กับขนาด ได้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงซึ่งเป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้สะดวก

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับหลังคาบ้านโซล่าเซลล์

ติดหลังคาโซล่าเซลล์แล้วนเราได้อะไรบ้าง?
เราสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าในบ้านได้ ใช้เป็นไฟสำรองแก้ปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง ไฟตก ไฟดับได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายได้จากการขายไฟให้ภาครัฐเมื่อต่อระบบแบบOn Grid หรือจะต่อแบบที่ไม่ได้ใช้ไฟจากการไฟฟ้าก็ได้เรียกว่าระบบOff Grid
ระบบโซล่าเซลล์แบบOn Grid
ระบบโซล่าเซลล์แบบOff Grid

ต้องติดอุปกรณ์โซล่าเซลล์อะไรบ้าง?
อุปกรณ์หลักๆ มีอยู่ 3 ส่วนคือ 1.แผงโซล่าเซลล์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้า(กระแสตรง) 2.อินเวอร์เตอร์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับจากโซล่าเซลล์ที่เป็นกระแสตรงให้เป็นกระแสสลับ 3. แบตเตอรี่ ทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในตอนที่ไม่มีแสงแดดแล้ว

โซล่าเซลล์ขนาดไหน ถึงจะเหมาะสมกับบ้านเรา?
การเลือกอาจขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้งานนั้น อาจเลือกตามกิโลวัตต์ไฟฟ้าที่ต้องการใช้


โซล่าหลังคา มีรูปแบบใดให้เลือกบ้าง?
ปัจจุบันมีการออกแบบโซล่าเซลล์หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบแทนกระเบื้องหลังคา แบบโค้งงอตามหลังคา หรือแบบกระจกซึ่งสามารถรับแสงได้และเลือกสีได้ตามต้องการ โดยแต่ละแบบอาจจะมีประสิทธิภาพ ราคา และความเหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน

แล้วควรติดโซล่าเซลล์ทิศไหน?
จากการวิจัยสรุปแล้วว่าควรติดในทิศใต้ ทำมุมประมาณสิบห้าองศา เพื่อที่จะได้รับแสงแดดได้สูงสูดตลอดทั้งปี และบริเวณหลังคาจะต้องไม่มีต้นไม้มาบังแสงแดด

ดูแลรักษายากหรือไม่?
ควรหมั่นตรวจสอบว่ามิเตอร์ค่าไฟทำงานได้ปกติ กำลังไฟฟ้าสม่ำเสมอ โดยดูจากอินเวอร์เตอร์

คุ้มไหมที่ติดตั้ง?
การจะดูว่ามันคุ้มค่ากับการเสียเงินติดตั้งหรือไม่ ก็อยู่ที่การใช้งานของแต่ละคน หากเลือกรูปแบบที่เหมาะสม เลือกขนาดที่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มที่ ก็สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว นอกจากนั้นเราก็ได้ใช้พลังงานสะอาดและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย





วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ตู้ควบคุมไฟฟ้า


ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า

MDB. (Main distribution board)
ตู้ MDB เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมด  มีแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยทั่วไปนิยมใช้ในอาคารที่มีขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟในปริมาณมาก
  หลักการทำงานของตู้สวิทซ์บอร์ด คือ การรับไฟที่ส่งมาจากการไฟฟ้า หรือ ต้านแรงดันต่ำของหม้อแปลงไฟฟ้า แล้วจึงจ่ายโหลดไปยังส่วนต่าง ๆ ของอาคาร และเนื่องจากขนาดของตู้ MDB จะมีขนาดใหญ่จึงนิยมวางบนพื้น
ตู้ควบคุมไฟฟ้า MDB

ส่วนประกอบในตู้สวิทช์ บอร์ด
1.โครงตู้ (Enclosure)
2. บัสบาร์ (Busbar)
3. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
4.เครื่องวัดไฟฟ้า
5.อุปกรณ์ประกอบ (Accessories)

คุณสมบัติที่สำคัญของโครงตู้สวิทซ์บอร์ด 
คุณสมบัติทางกล สามารถรับแรงกลจากภายนอกได้ ทั้งภาวะปกติและไม่ปกติ
คุณสมบัติทางความร้อน สามารถทนความร้อนจากสภาพแวดล้อม ความผิดปกติในระบบ ซึ่งเป็นผลจากการลัดวงจร
คุณสมบัติต่อการกัดกร่อน สามารถทนการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมีได้ดี

ประโยชน์ของโครงตู้ของสวิทช์บอร์ด
·       ป้องกันไม่ให้มนุษย์ที่อยู่ใกล้สวิทซ์บอร์ด สัมผัสถูกส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า
·       ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ แผงวงจรไฟฟ้า ในตู้จากภายนอกเช่น น้ำ, ฝุ่น,
·       ป้องกันอันตรายหากเกิด การอาร์ก รุนแรงทำให้ชิ้นส่วนอุปกรณ์อาจหลุดกระเด็น
 
การใช้ตู้ควบคุมไฟฟ้าควบคุมปั๊มน้ำ
การเลือกใช้ ตู้สวิทซ์บอร์ด
1)  สถานที่ในการติดตั้ง ว่าอยู่กลางแจ้งหรือในร่ม เพราะหากติดในที่กลางแจ้งย่อมต้องเลือกตู้ที่สามารถกันฝน หรือ น้ำได้ด้วยโดยสังเกตค่า IP
2)  ในการเลือก ขนาด ตู้ควรพิจารณาจาก แผงวงจร และขนาดของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่นำมาติดตั้งว่ามีขนาดอย่างไร
3)  หาก ในการติดตั้งมีเงื่อนไขเพิ่มเติมให้พิจารณาจากคุณสมบัติทาง กลม ความร้อน และการกัดกร่อน โดยอาจศึกษาจาก ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ 

SDB (Sub Distribution Board) และ แผงควบคุมไฟฟ้ารอง  DB (Distribution Board)
ตู้ควบคุมไฟฟ้ารอง ลักษณะร่วมทั้งส่วนประกอบมีลักษณะคล้ายกับ ตู้สวิทช์บอร์ด แต่มีขนาดและพิกัดของตู้ และ อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ลดหลั่นจาก ตู้MDB การทำงาน เช่น ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะ ลงไปอีก ชั้น ของตึก ในอาคารสูง หรือ อาคารที่อยู่ติดกันแต่มีขนาดเล็กกว่า
 
ตู้ควบคุมไฟฟ้า SDB

LP (Load Panel) หรือ แผงควบคุมไฟฟ้าย่อย
สวิทช์ใช้ควบคุมส่วนของวงจรไฟฟ้าย่อย  ในห้องที่ต้องการควบคุม Load Panel หรือ ในส่วนที่ต้องการควบคุม จะมี เซอร์กิตเบรกเกอร์ หลายตัว วางเรียงกันอยู่ในกล่อง ส่งผลให้ มีขนาดเล็ก  ในบ้างอาคาร อาจใช้ Load Panel ควบคุม แทน SDB
Load Panel  แบ่งได้ดังนี้
1) Load Panel 3 Phase เรียกว่า Load Center , LP
2) Load Panel 1 Phase เรียกว่า Consumer Unit , CU
 
ตัวอย่างการควบคุมระบบไฟฟ้า

–  SDB. (Sub distribution board ) เป็นตู้ควบคุมย่อย จ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. หรือ Load Center หลายๆ ตู้ ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร
–  PB ( Panel board ) หรือ Load Center เป็นแผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนของ Load